ม้าก้านกล้วย
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

     
 
 
     

หน้าหลัก

ม้าก้านกล้วย

ขี่ม้าก้านกล้วย
           การละเล่นเด็กไทย โดยอาศัยก้านกล้วยที่ปลูกไว้ตามบริเวณข้างบ้านและในสวน ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน และเป็นการฝึกการความแข็งแรงไปในตัว

 

ประโยชน์

  1. การทำท่าเหมือนม้า ทำให้เด็กมีจินตนาการ และ กล้าแสดงออก
  2. เป็นการออกกำลังกายอย่างดี
  3. รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย
 

การเรียกชื่อ

            ในภาษาอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดชื่อภาษาอังกฤษของการละเล่นนี้ ไว้ว่า "Banana rib hobbyhorse riding" จะไม่ใช้การทับศัพท์เนื่องจากไม่สามารถสื่อความหมายได้

 

วิธีการทำ

            หาก้านกล้วย ยาวประมาณ 1 วา ครึ่ง ตัดเลียนแบบหัวและคอม้า ผูกเชือกระหว่างหัวกับหางม้า เพื่อใช้คล้องคอผู้เล่น

 

วิธีการเล่น

            เด็กๆ จะขึ้นไปขี่บนหลังม้าก้านกล้วย ทำท่าเหมือนขี่ม้าจริงไปเรื่อยๆ พร้อมกับร้อง "ฮี้ๆๆๆ " อาจจะแข่งขันว่าใครวิ่งเร็วกว่ากัน หรืออาจขี่ม้าก้านกล้วยวิ่งไปรอบบริเวณลานกว้างๆ ก็ได้

 

ขี่ม้าก้านกล้วยกับปัจจุบัน

            ปัจจุบันนี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก

            แต่การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ (Logo) ในงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทเกมส์ เป็นเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย

กระโดดเชือก ชักเย่อ ตะแล็บแก็ป ว่าว
เดินกะลา ซ่อนหา ปิดตาตีหม้อ วิ่งกระสอบ
ม้าก้านกล้วย โถกเถก มอญซ่อนผ้า หมากเก็บ

 

Copyright © 2002-2010 Faculty of Management Science, Ubon Ratchathani University. 85 Stolmark Rd. Warinchamrap, Ubon Ratchathani, 34190 Tel.0-4535-3804
Browser Support : Internet Explorer 7+ , Mozilla Firefox , Google Chrome , Opera , etc
.


 

Free Web Hosting