ชักเย่อ
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

     
 
 
     

หน้าหลัก

ชักเย่อ
 

ชักเย่อ

            เป็นที่รู้จักดีในเกมการละเล่นพื้นบ้านหรือการแข่งขันกีฬาแบบไทยๆ  จะมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใดไม่ทราบ  แต่เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า  คนไทยในสมัยก่อนเมื่อมีงานเทศกาลต่าง ๆ หรืองานประเพณี  ซึ่งส่วนมากมักจะจัดตามวัด  เช่นประเพณีลอยกระทง  วันสงกรานต์  มักจะมีกีฬาชักเย่อจัดมาแข่งขันร่วมอยู่ด้วยเสมอ  เพราะเป็นเกมกีฬาที่สนุกสนาน  เล่นง่าย ผลการแพ้ชนะตัดสินกันเร็วและยุติธรรม   รวมทั้งยังแสดงออกถึงความสามารถทางด้านร่างกาย  ในสมัยก่อนนั้นไม่มีกติกาเคร่งครัดมากเท่าใด   ขอให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีจำนวนใกล้เคียงกัน  หรือบางครั้งอีกฝ่ายหนึ่งอาจต่อจำนวนผู้เล่นให้กับฝ่ายตรงข้ามก็ได้  ขึ้นอยู่กับความพอใจในการเล่น    แต่ในปัจจุบันนี้ชักเย่อได้พัฒนาเป็นการแข่งขันในระดับนานาชาติ  มีกติกาที่แน่นอน  มีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปเอเชีย     และในระดับโลกแล้ว   ส่วนในประเทศไทยนั้นก็มีการจัดแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยขึ้นแล้ว  ดังนั้นจึงถือว่ากีฬาชักเย่อเป็นกีฬาระดับสากลไปแล้ว

 

อุปกรณ์

 เชือก

 

กติกาการเล่น
            ใช้เชือกเส้นใหญ่ยาวพอประมาณกับจำนวนผู้เล่น แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง เมื่อสัญญาณเริ่ม ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มออกแรงดึงเชือก โดยพยายามดึงฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาในแดนของตน หากผู้แข่งขันเป็นชายหนึ่งฝ่ายและหญิงฝ่ายหนึ่ง อาจจะกำหนดให้ฝ่ายหญิงมีจำนวนมากกว่าชายก็ได้ เป็นการละเล่นไทยสอนให้รู้จักความสามัคคีและเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย

 

ประโยชน์
                สอนให้รู้จักรความสามัคคีและเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย

กระโดดเชือก ชักเย่อ ตะแล็บแก็ป ว่าว
เดินกะลา ซ่อนหา ปิดตาตีหม้อ วิ่งกระสอบ
ม้าก้านกล้วย โถกเถก มอญซ่อนผ้า หมากเก็บ

 

Copyright © 2002-2010 Faculty of Management Science, Ubon Ratchathani University. 85 Stolmark Rd. Warinchamrap, Ubon Ratchathani, 34190 Tel.0-4535-3804
Browser Support : Internet Explorer 7+ , Mozilla Firefox , Google Chrome , Opera , etc
.


 

Free Web Hosting