ว่าว
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

     
 
 
     

หน้าหลัก

ว่าว

ว่าว

            เป็นของเล่นชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้ลอยอยู่ในอากาศ ได้ด้วยแรงลม และมีสายป่าน คอยบังคับให้ลอยอยู่ในทิศทาง ที่ต้องการ โดยเริ่มจากประเทศจีนโดยใช้ไม้ไผ่และผ้าไหมเป็นอุปกรณ์ ต่อมาได้ประดิษฐ์ว่าวในหลายรูปแบบ ตามวัฒนธรรมของหลายประเทศ

 

ว่าวไทย

            ในอดีตมีกล่าวอยู่ในพงศาวดารเหนือว่า พระร่วงทรงเล่นว่าวอย่างไม่ถือพระองค์ว่าเป็นท้าวพระยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 – 2300) ก็มีการเล่นว่าวกันมากถึงกับมีกฎมณเพียรบาล ห้ามมิให้ประชาชน เล่นว่าวทับพระราชวัง ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการเล่นว่าวดังเช่นในสมัย ก็มีการเล่นว่าว เช่น ในรัชกาลที่ 5 ก็ทรงโปรดให้ใช้สถานที่ในพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่าเป็นที่เล่นว่าวจุฬากับปักเป้า เป็นต้น ว่าวของไทยที่ทำขึ้นเล่นกันเป็นพื้นมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน คือ ว่าวอีลุม ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา และว่าวตุ๋ยตุ่ย

 

อุปกรณ์

ไม้ไผ่ กระดาษว่าว

 

วิธีทำ

             ว่าวแม้จะทำจากไม้ไผ่และกระดาษว่าว ซึ่งใช้อุปกรณ์ไม่มากเพียงไม่กี่ชิ้น แต่ต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญอย่างมาก โดยเฉพาะการทำว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ไม้ไผ่ที่ใช้ทำว่าวมักใช้ไม้ไผ่สีสุกทำ ต้องมีเคล็ดลับการเลือกแตกต่างกันไปตามแต่ละสำนัก บางแห่งจะมีการดูอายุของไม้ไผ่ด้วยว่าไม่ให้อ่อนหรือไม่ให้แก่เกินไปจะมีผลต่อความยืดหยุ่นของเนื้อไม้ หลังจากได้ไม่ไผ่มาแล้วต้องนำมาเหลาให้ได้ขนาดและความยาวที่เหมาะสม และยังต้องทดสอบความยืดหยุ่นของไม้ไผ่เมื่อนำมาดัดงอด้วยว่าสามารถดัดงอได้ดีหรือไม่

             ขนาดและความยาวของไม้ไผ่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของว่าวที่จะทำ ถ้าเป็นว่าวจุฬาขนาดมาตรฐานใช้แข่งขัน ก็จะมีตัวใหญ่มาก ต้องทำอย่างแข็งแรงและได้ขนาดที่เหมาะสม ถ้าเป็นว่าวปักเป้าตัวจะเล็กลงมา เน้นความคล่องแคล่วปราดเปรียว ส่วนว่าวงู ว่าวนกฮูก เน้นความสวยงามของกระดาษที่ปิดมากกว่า เมื่อได้ไม้ไผ่มาตามขนาดที่ต้องการต่อไปก็ถึงขึ้นทำโครงว่าว โดยถ้าเป็นว่าวปักเป้าจะใช้ไม่ไผ่ 2 ชิ้นขัดกันขึ้นมาเป็นโครง ยึดกันด้วยด้าย ซึ่งขึ้นตอนนี้ก็สำคัญเนื่องจากการผูกด้ายยึด โครงต้องมีความพอดีไม่ให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป ไม่งั้นว่าวจะเสียศูนย์ได้เวลาเล่น

             เมื่อได้โครงว่าวแล้ว ก็ถึงขึ้นตอนการปิดกระดาษ กระดาษที่ใช้ทำว่าว จะเป็นกระดาษว่าว หรือบางคนใช้กระดาษสาอาจจะเป็นของประเทศไทยหรือจีนก็ได้ ปางรายมีเทคนิคคือปิดกระดาษตอนเช้าๆ ตอนสายๆอากาศอุ่นขึ้นกระดาษก็จะตึงพอดี หลังจากปิดกระดาษเสร็จแล้วก็มาเจาะรูผูกคอซุง โดยต้องดูความสมดุลของว่าว ว่าไม่เอียงซ้ายหรือขวา หัวหรือท้ายไม่หนักเกินไป อาจจะลองชักเล่นดูเลยก็ได้ หลังจากนั้นก็ตกแต่งภายนอก และวางจำหน่ายได้การทำว่าวเป็นศิลปะของไทยโดยแท้

 

ประโยชน์

            เล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
 


กระโดดเชือก ชักเย่อ ตะแล็บแก็ป ว่าว
เดินกะลา ซ่อนหา ปิดตาตีหม้อ วิ่งกระสอบ
ม้าก้านกล้วย โถกเถก มอญซ่อนผ้า หมากเก็บ

 

Copyright © 2002-2010 Faculty of Management Science, Ubon Ratchathani University. 85 Stolmark Rd. Warinchamrap, Ubon Ratchathani, 34190 Tel.0-4535-3804
Browser Support : Internet Explorer 7+ , Mozilla Firefox , Google Chrome , Opera , etc
.


 

 

Free Web Hosting